เงินพดด้วง

น.ส.ญาณิศา  กลั่นกลิ่น  ชั้น ม.5  ห้อง 937  เลขที่ 6

เสนอ อาจารย์ประพิศ  ฝาคำ
รายวิชา ส32103 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      เงินพดด้วงเป็นเงินตราที่เป็น เอกลักษณ์ของไทย  สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี
      เงินพดด้วงทำด้วยโลหะมีราคา มีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า รูปทรงกะทัดรัด ทนทาน ผลิตด้วยมือ ทำจากแท่งเงิน ทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากัน โดยมีการตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป
      เนื่องจากมีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกเงินชนิดนี้ว่าเงินพดด้วง ส่วนชาวต่างชาติเห็นว่ามีลักษณะคล้ายลูกปืนโบราณ จึงเรียกว่า Bullet Coin

เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย
พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ผลิตแต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้ครองนคร พ่อค้า และประชาชนผลิตได้ ดังนั้นเงินพดด้วงในยุคกรุงสุโขทัย จึงไม่มีมาตรฐานแน่นอนในเรื่องขนาด น้ำหนัก และเนื้อเงิน 

พดด้วงที่ใช้ในสมัยนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลม ทำด้วยโลหะเงิน ปลายขางอเข้าหากันเป็นปลายแหลม มีรูขนาดใหญ่ระหว่างขา มีตราประทับเพื่อแสดงถึงแหล่งผลิตตั้งแต่ 1 ตรา ไปจนถึง 7 ตราส่วนใหญ่ตราที่พบได้แก่ ตราราชสีห์ ช้าง หอยสังข์ ธรรมจักร บัว กระต่าย และราชวัตร
 

เงินพดด้วงในสมัยอยุธยา
หลวงผูกขาดในการผลิต เงินพดด้วงในสมัยนี้คล้ายเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย แต่ตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย

เงินพดด้วงในสมัยนี้มีตราประทับเพียง 2 ตรา โดยตราที่ประทับอยู่ด้านบนคือ ตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาลลักษณะต่าง ๆ

เงินพดด้วงในสมัยกรุงธนบุรี

ในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้พดด้วงของอยุธยาอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาได้ผลิตพดด้วงประจำรัชกาลออกใช้ โดยมีลักษณะเหมือนกับพดด้วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ประทับตราพระแสงจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลนั้นใช้ ตราตรีศูล และตราทวิวุธ
ตราตรีศูล


เงินพดด้วงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


ในสมัยรัชกาลที่ 1 – 3 เงินพดด้วงยังคงเป็นเงินตราหลัก โดยที่ตราประจำแผ่นดินเป็นตราจักร และมีการเปลี่ยนแปลงตราประจำรัชกาลที่ใช้ประทับเท่านั้น โดย

รัชกาลที่ 1 ใช้ตราบัวอุณาโลม และ ตราตรีศูล

ตราตรีศูล



รัชกาลที่ 2 ใช้ตราครุฑ

รัชกาลที่ 3 ใช้ตราพระมหาปราสาท 

      นอกจากนั้นยังมีการเริ่มผลิตพดด้วงเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น พดด้วงตราครุฑเสี้ยว ตราเฉลว ตราดอกไม้ และตราใบมะตูม เป็นต้น

รัชกาลที่ 4 ตราพระมหามงกุฎ

      ในสมัยนี้มีการทำเงินพดด้วงปลอมกันมาก
      เงินพดด้วงมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและการค้าของประเทศเสียประโยชน์ รัชกาลที่ 4 จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ
      เงินพดด้วงได้หยุดผลิตตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 เป็นต้นมา แต่ยังไม่มีการประกาศยกเลิกใช้อย่างเป็นทางการ
 
รัชกาลที่ 5 มีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นอีก 2 ครั้ง 
      ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีศพพระองค์หญิงเจริญกมลศุขสวัสดิ์ พระราชธิดาองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราประทับคือตราพระเกี้ยว
 
      ครั้งที่ 2 เนื่องในการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเทพสิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนี
ลักษณะคือ ด้านบนเป็นตราจักร ด้านหน้าเป็นตราพระเกี้ยวประจำพระองค์ ด้านหลังเป็นตราช่อรำเพย (ตาม พระนามเดิมของสมเด็จราชชนนี คือพระนางเธอพระองค์เจ้าฟ้า รำเพยรามราภิรมย์) 

      
ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2447 มีการประกาศเลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด เนื่องจากความต้องการเงินตราไทยมีมากเพราะการค้าระหว่างประเทศขยายตัว การผลิตเงินพดด้วงไม่ทันใช้ รัชกาลที่ 5 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศลงวันที่ 27 ตุลาคม 2447 มีความสำคัญว่า ได้โปรดให้สั่งว่า เงินพดด้วงซึ่งได้จำหน่ายออกจากพระคลังฯ ใช้กันแพร่หลายอยู่ในพระราชอาณาจักรเวลานี้ มีลักษณะปลอมแปลงได้ง่าย สมควรให้เลิกใช้เงินพดด้วงเสีย โดยตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นไป ให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ยกเป็นเงินตราที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



อ้างอิง
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
หอมรดกไทย
สำนักกษาปณ์
http://www.oknation.net

ขอขอบคุณ 
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์

ซื้อบัตรเข้าชม
 
    ป.ล. ข้างในพิพิธภัทณ์น่าจะให้ถ่ายรูปได้เนอะ อดถ่ายรูปกับของจริงเลย

สาระน่ารู้
การปฏิรูปเงินตราไทยกับเงินตราร่วมสมัย

ตลาดหลักทรัพย์

น.ส.ญาณิศา  กลั่นกลิ่น  ชั้น ม.5  ห้อง 937  เลขที่ 6

เสนอ อาจารย์ประพิศ  ฝาคำ
รายวิชา ส32102 เศรษฐศาสตร์

ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตลาดหลักทรัพย์ เป็นองค์กรหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลการซื้อ-ขาย การแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ  เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูล และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ระหว่างผู้ขอรับการลงทุน (บริษัทจำกัดมหาชน) และผู้ลงทุน หน้าที่หลักคือเป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูล เผยแพร่ข่าวสารและสาระสำคัญ และเป็นตัวแทนกลางระหว่างบริษัท กับผู้ลงทุน แต่ทั้งนี้ผู้ลงทุนแต่ละคน ไม่สามารถซื้อขายหุ้น ผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้โดยตรง นักลงทุนทุกคนต้องมีโบรคเกอร์ (นายหน้าค้าหลักทรัพย์) จึงจะซื้อขายได้ ยกเว้นการซื้อขายนอกตลาดซึ่งเป็นการซื้อขายระหว่างนักลงทุนด้วยกันเอง  

บทบาทของตลาดหลักทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทสำคัญ ดังนี้
  1. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
  2. ดำเนินธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. การดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
 ลักษณะการดำเนินงาน
  • เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517
  • ทำหน้าที่ส่งเสริมการออมและการระดมเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งปันกัน
  • สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
  • เริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518
  • ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

การดำเนินงานหลัก ได้แก่ การรับหลักทรัพย์จดทะเบียนและดูแลการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน การซื้อขายหลักทรัพย์และการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ การกำกับดูแลบริษัทสมาชิกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนถึงการเผยแพร่ข้อมูลและการส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้ลงทุน


องค์ประกอบของตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีองค์ประกอบที่เหมือนกับตลาดอื่นๆ ทั่วไป คือมีสินค้า ผู้ซื้อ ผู้ขาย
  1. สินค้า คือ หลักทรัพย์จดทะเบียน (Listed Securities)
เป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจำกัดมหาชนที่เข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยทั้งหลักทรัพย์จดทะเบียนและบริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์นั้น จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด และเป็นไปตามข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์ ( Listing Agreement)
  1. ตัวแทนนายหน้าผู้ซื้อขาย คือ บริษัทสมาชิก หรือโบรกเกอร์ (Broker)
บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับอนุมัติให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือที่เรียกกันว่า โบรกเกอร์” (Broker)
  1. ผู้ซื้อขาย คือ ผู้ลงทุน (Investor)
ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แบ่งได้หลายประเภท เช่น 
- แบ่งเป็นผู้ลงทุนรายย่อย ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนต่างประเทศ 
- แบ่งตามพฤติกรรมในแง่ระยะเวลาการถือครองหลักทรัพย์ คือ ผู้ลงทุนระยะสั้น ผู้ลงทุนระยะยาว และนักเก็งกำไร 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
   (The Securities Exchange of Thailand)
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กำหนดให้การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกำหนดอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ



ตลาดแรก 
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลักทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้

ตลาดรอง 
หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก หลักทรัพย์จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นคำขอและได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว





เพิ่มเติม
หลายๆคนอาจไม่รู้ว่า หุ้นกับหลักทรัพย์ แตกต่างกันอย่างไร

หุ้นเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่เมื่อเราลงทุนในหุ้นของบริษัทใด เราก็จะมีสถานะเป็น เจ้าของ” ของบริษัทนั้น การปันผลจะแปรตามปริมาณหลักทรัพย์ที่มีซึ่งมีทั้งโอกาสได้รับกำไรหากกิจการของบริษัทดำเนินไปได้ดี แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกันหากการดำเนินกิจการมีปัญหา การเป็นเจ้าของกิจการในตลาดทุนอาจไม่ได้หมายความว่า ผู้ลงทุนต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเอง แต่จะเป็นการเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัทผ่านการเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการดังกล่าว ซึ่งมีการออกและเสนอขาย หุ้น ต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำเงินที่ขายหุ้นได้ไปลงทุนในกิจการของบริษัทรวมทั้งได้นำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วย