เสนอ อาจารย์ประพิศ ฝาคำ
รายวิชา ส32102 เศรษฐศาสตร์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตลาดหลักทรัพย์ เป็นองค์กรหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลการซื้อ-ขาย การแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูล และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ระหว่างผู้ขอรับการลงทุน (บริษัทจำกัดมหาชน) และผู้ลงทุน หน้าที่หลักคือเป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูล เผยแพร่ข่าวสารและสาระสำคัญ และเป็นตัวแทนกลางระหว่างบริษัท กับผู้ลงทุน แต่ทั้งนี้ผู้ลงทุนแต่ละคน ไม่สามารถซื้อขายหุ้น ผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้โดยตรง นักลงทุนทุกคนต้องมีโบรคเกอร์ (นายหน้าค้าหลักทรัพย์) จึงจะซื้อขายได้ ยกเว้นการซื้อขายนอกตลาดซึ่งเป็นการซื้อขายระหว่างนักลงทุนด้วยกันเอง
บทบาทของตลาดหลักทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทสำคัญ ดังนี้
- ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
- ดำเนินธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ลักษณะการดำเนินงาน
- เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517
- ทำหน้าที่ส่งเสริมการออมและการระดมเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งปันกัน
- สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
- เริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518
- ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
การดำเนินงานหลัก ได้แก่ การรับหลักทรัพย์จดทะเบียนและดูแลการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน การซื้อขายหลักทรัพย์และการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ การกำกับดูแลบริษัทสมาชิกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนถึงการเผยแพร่ข้อมูลและการส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้ลงทุน
องค์ประกอบของตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ฯ
มีองค์ประกอบที่เหมือนกับตลาดอื่นๆ ทั่วไป คือมีสินค้า ผู้ซื้อ ผู้ขาย
- สินค้า คือ หลักทรัพย์จดทะเบียน (Listed Securities)
เป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจำกัดมหาชนที่เข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยทั้งหลักทรัพย์จดทะเบียนและบริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์นั้น
จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
และเป็นไปตามข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์ ( Listing Agreement)
- ตัวแทนนายหน้าผู้ซื้อขาย คือ บริษัทสมาชิก
หรือโบรกเกอร์ (Broker)
บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับอนุมัติให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ
หรือที่เรียกกันว่า “โบรกเกอร์” (Broker)
- ผู้ซื้อขาย คือ ผู้ลงทุน (Investor)
ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แบ่งได้หลายประเภท เช่น
- แบ่งเป็นผู้ลงทุนรายย่อย ผู้ลงทุนสถาบัน
และผู้ลงทุนต่างประเทศ
- แบ่งตามพฤติกรรมในแง่ระยะเวลาการถือครองหลักทรัพย์ คือ ผู้ลงทุนระยะสั้น
ผู้ลงทุนระยะยาว และนักเก็งกำไร
(The Securities Exchange of Thailand)
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กำหนดให้การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกำหนดอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ตลาดแรก
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลักทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลักทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้
ตลาดรอง
หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก
หลักทรัพย์จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นคำขอและได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว
เพิ่มเติม
หลายๆคนอาจไม่รู้ว่า หุ้นกับหลักทรัพย์ แตกต่างกันอย่างไร
หุ้นเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่เมื่อเราลงทุนในหุ้นของบริษัทใด เราก็จะมีสถานะเป็น “เจ้าของ” ของบริษัทนั้น การปันผลจะแปรตามปริมาณหลักทรัพย์ที่มีซึ่งมีทั้งโอกาสได้รับกำไรหากกิจการของบริษัทดำเนินไปได้ดี แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกันหากการดำเนินกิจการมีปัญหา การเป็นเจ้าของกิจการในตลาดทุนอาจไม่ได้หมายความว่า ผู้ลงทุนต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเอง แต่จะเป็นการเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัทผ่านการเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการดังกล่าว ซึ่งมีการออกและเสนอขาย “หุ้น” ต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำเงินที่ขายหุ้นได้ไปลงทุนในกิจการของบริษัทรวมทั้งได้นำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
อ้างอิง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
http://th.jobsdb.com
http://sinthornvista.com
ศึกษาเพิ่มเติม
ชนิดของหุ้น