เงินพดด้วง

น.ส.ญาณิศา  กลั่นกลิ่น  ชั้น ม.5  ห้อง 937  เลขที่ 6

เสนอ อาจารย์ประพิศ  ฝาคำ
รายวิชา ส32103 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      เงินพดด้วงเป็นเงินตราที่เป็น เอกลักษณ์ของไทย  สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี
      เงินพดด้วงทำด้วยโลหะมีราคา มีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า รูปทรงกะทัดรัด ทนทาน ผลิตด้วยมือ ทำจากแท่งเงิน ทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากัน โดยมีการตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป
      เนื่องจากมีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกเงินชนิดนี้ว่าเงินพดด้วง ส่วนชาวต่างชาติเห็นว่ามีลักษณะคล้ายลูกปืนโบราณ จึงเรียกว่า Bullet Coin

เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย
พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ผลิตแต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้ครองนคร พ่อค้า และประชาชนผลิตได้ ดังนั้นเงินพดด้วงในยุคกรุงสุโขทัย จึงไม่มีมาตรฐานแน่นอนในเรื่องขนาด น้ำหนัก และเนื้อเงิน 

พดด้วงที่ใช้ในสมัยนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลม ทำด้วยโลหะเงิน ปลายขางอเข้าหากันเป็นปลายแหลม มีรูขนาดใหญ่ระหว่างขา มีตราประทับเพื่อแสดงถึงแหล่งผลิตตั้งแต่ 1 ตรา ไปจนถึง 7 ตราส่วนใหญ่ตราที่พบได้แก่ ตราราชสีห์ ช้าง หอยสังข์ ธรรมจักร บัว กระต่าย และราชวัตร
 

เงินพดด้วงในสมัยอยุธยา
หลวงผูกขาดในการผลิต เงินพดด้วงในสมัยนี้คล้ายเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย แต่ตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย

เงินพดด้วงในสมัยนี้มีตราประทับเพียง 2 ตรา โดยตราที่ประทับอยู่ด้านบนคือ ตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาลลักษณะต่าง ๆ

เงินพดด้วงในสมัยกรุงธนบุรี

ในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้พดด้วงของอยุธยาอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาได้ผลิตพดด้วงประจำรัชกาลออกใช้ โดยมีลักษณะเหมือนกับพดด้วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ประทับตราพระแสงจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลนั้นใช้ ตราตรีศูล และตราทวิวุธ
ตราตรีศูล


เงินพดด้วงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


ในสมัยรัชกาลที่ 1 – 3 เงินพดด้วงยังคงเป็นเงินตราหลัก โดยที่ตราประจำแผ่นดินเป็นตราจักร และมีการเปลี่ยนแปลงตราประจำรัชกาลที่ใช้ประทับเท่านั้น โดย

รัชกาลที่ 1 ใช้ตราบัวอุณาโลม และ ตราตรีศูล

ตราตรีศูล



รัชกาลที่ 2 ใช้ตราครุฑ

รัชกาลที่ 3 ใช้ตราพระมหาปราสาท 

      นอกจากนั้นยังมีการเริ่มผลิตพดด้วงเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น พดด้วงตราครุฑเสี้ยว ตราเฉลว ตราดอกไม้ และตราใบมะตูม เป็นต้น

รัชกาลที่ 4 ตราพระมหามงกุฎ

      ในสมัยนี้มีการทำเงินพดด้วงปลอมกันมาก
      เงินพดด้วงมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและการค้าของประเทศเสียประโยชน์ รัชกาลที่ 4 จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ
      เงินพดด้วงได้หยุดผลิตตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 เป็นต้นมา แต่ยังไม่มีการประกาศยกเลิกใช้อย่างเป็นทางการ
 
รัชกาลที่ 5 มีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นอีก 2 ครั้ง 
      ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีศพพระองค์หญิงเจริญกมลศุขสวัสดิ์ พระราชธิดาองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราประทับคือตราพระเกี้ยว
 
      ครั้งที่ 2 เนื่องในการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเทพสิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนี
ลักษณะคือ ด้านบนเป็นตราจักร ด้านหน้าเป็นตราพระเกี้ยวประจำพระองค์ ด้านหลังเป็นตราช่อรำเพย (ตาม พระนามเดิมของสมเด็จราชชนนี คือพระนางเธอพระองค์เจ้าฟ้า รำเพยรามราภิรมย์) 

      
ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2447 มีการประกาศเลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด เนื่องจากความต้องการเงินตราไทยมีมากเพราะการค้าระหว่างประเทศขยายตัว การผลิตเงินพดด้วงไม่ทันใช้ รัชกาลที่ 5 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศลงวันที่ 27 ตุลาคม 2447 มีความสำคัญว่า ได้โปรดให้สั่งว่า เงินพดด้วงซึ่งได้จำหน่ายออกจากพระคลังฯ ใช้กันแพร่หลายอยู่ในพระราชอาณาจักรเวลานี้ มีลักษณะปลอมแปลงได้ง่าย สมควรให้เลิกใช้เงินพดด้วงเสีย โดยตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นไป ให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ยกเป็นเงินตราที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



อ้างอิง
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
หอมรดกไทย
สำนักกษาปณ์
http://www.oknation.net

ขอขอบคุณ 
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์

ซื้อบัตรเข้าชม
 
    ป.ล. ข้างในพิพิธภัทณ์น่าจะให้ถ่ายรูปได้เนอะ อดถ่ายรูปกับของจริงเลย

สาระน่ารู้
การปฏิรูปเงินตราไทยกับเงินตราร่วมสมัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น